ถมนคร แพร่หลายเข้ามากรุงเทพฯ

เครื่องถม ในกรุงเทพฯ

ในกรุงเทพมหานครมีการทำถมกันมากพอสมควร ราวๆ สมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งเรียกชื่อว่า “บ้าน พานถม” อยู่ใกล้ๆ สะพานเฉลิมวันชาติ ถนนพระสุเมรุ ชาวบ้านในกลุ่มนี้ทำพานถม ขันถมขาย แต่ไม่มีหลักฐาน ว่าทำกันมาตั้งแต่เมื่อไร มีแต่ผู้สูงอายุคนหนึ่งเล่าว่า ชาวบ้านใน “บ้านพานถม” นี้ ได้ประกอบอาชีพทำพานถม ขันถม เป็นแบบเครื่องถมนคร แต่ฝีมือไม่อยู่ในขั้นดีเยี่ยม เช่น น้ำยาถมเป็นสีดำ เหมือนสีถ่านแต่ไม่ขึ้นมันเงา การทำถมก็ไม่เรียบสนิท มักจะเป็น “รูพรุน” หรือ “ตา มด” ปัจจุบันนี้เลิกอาชีพนี้ไปหมดแล้ว

ใน พ.ศ.๒๔๕๓ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ได้ฟื้นฟูส่งเสริมศิลปหัตถกรรมเครื่องถมนครศรีธรรมราชขึ้น ในกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๔๕๖ ได้เปิดแผนกช่างถมขึ้นเป็นกอง และแผนกหนึ่งใน “โรงเรียน เพาะช่าง” ได้รับความร่วมมือจากพระยาเพชรปราณี เจ้ากรมอำเภอ กระทรวงนครบาล ในขณะนั้น จัดหาตำรา “ถม นคร” มาใช้สอนในโรงเรียนเพาะช่างในแผนกช่างถมสำเร็จ ทำการทดลองใช้ตำราเล่ม นั้น โดยเริ่มให้ศาสตราจารย์หลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ ปัทมจินดา) เป็นผู้รับหน้าที่ทดลองใช้ และเรียกขุนปราณีถมกิจ (หยุย จิตตะกิตติ) เป็นช่างถมอยู่บ้านพานถม ให้เข้ามารับราชการเป็นผู้สอนร่วมกับ ขุนประดิษฐ์ถมการ (รื่น ทัพวัฒน์) วิชาเครื่องถมนี้ได้รับการส่งเสริม โดยให้มีการเรียนการสอนในโรงเรียนเพาะช่างสืบต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

วิชาช่างถมโรงเรียนเพาะช่าง

วิชาช่างถมที่เปิดสอนในโรงเรียนเพาะช่างเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ (ตำรา “ถม นคร”) เรียกว่า วิชารูปพรรณและถม ได้แก่ การขึ้นรูป สลักลาย และลงถม

ดำรง โมลีกุล เขียนอธิบายเกี่ยวกับวิชาช่างถมในโรงเรียนเพาะช่างไว้ในเรื่อง “การ ทำบล็อกแม่พิมพ์” ดังนี้

ปี พ.ศ.๒๔๖๑ – ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ในขณะที่เป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ มาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่าง พระองค์ได้ทรงตั้งแผนกช่างทองแผนกเจีย ระไนเพชรพลอย (แผนกโลหะรูปพรรณ) และได้นำวิธีการทำบล็อกโลหะ (ดูรายละเอียดในเรื่อง “การ ทำบล็อกแม่พิมพ์”) เข้ามาทำ เครื่องถมที่ต่างกับ เครื่องถมนครศรีธรรมราช คือ “ถม นคร” ใช้กรรมวิธีขึ้นรูป และสลักดุน ส่วนใดที่ต้องการลวดลายก็ดุนขึ้นมา การทำต้องใช้เวลานานมากในการขึ้นรูป สลักดุน

เมื่อเป็นเช่นนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ได้ทรงคิดค้นวิธีที่จะทำถมให้เร็วขึ้น ด้วยการนำวิธีการทำบล็อกมาช่วย โดยใช้เขียนต้นฉบับเป็นลวดลายต่างๆ และนำมาถ่ายเป็นกระจกเปียก (WET COLODION) (สมัยก่อนยังไม่ใช้ฟิล์ม) เป็นภาพ เพื่อใช้อัดลงแผ่นเงินที่ปรับแผ่นให้เรียบด้วยวิธีการรีดโลหะ นำแผ่นเงินมาเคลือบน้ำยาไวแสงเพื่อใช้อัดภาพลงไป และทำตามกรรมวิธีทำบล็อก โลหะ โดยนำแผ่นเงินไปกัดกรด ส่วนที่ถูกกรดกัดลึกก็จะนำยาถมมาลง ส่วนที่ไม่ถูกกรดกัดก็เป็นเนื้อเงิน การทำถมแบบนี้ทำได้รวดเร็วและสวยงามไป อีกแบบ แต่ต้องแกะ และประดิษฐ์ลวดลาย เพื่อเพิ่มความสวยงามใช้การตัดติดต่อแผ่น โดยใช้วิธีทำแพทเทิร์น “PATTERN” ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ เช่น กล่องถม รูปแบบกล่องที่มีฝาปิดเปิดได้ หรือเป็นกล่องเครื่องใช้

แต่ถ้าเป็นเครื่องเงินที่ขึ้นรูปของที่มีความโค้ง เช่น ขัน ตลับ แจกัน เป็นต้น ใช้วิธีการเขียน กัดกรด โดยนำของขึ้นรูปมาเขียนด้วย กาวกระถิน (GUMARABIC) ผสมสีย้อมผ้า (สีม่วง) แล้วใช้ หมึกพิมพ์คลึง และนำไปกัดกรดเช่นเดียวกัน เรียกว่า “ถม จุฑาธุช” (จากเรื่อง “การ ทำบล็อกแม่พิมพ์” หน้า ๓๑๙-๓๒๐ “ในหนังสือ ๑๐๐ ปี สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุช)