ทำไมกระเพาะปลาเก่า ถึงมีมูลค่าหลายล้าน ?

ซื้อกระเพาะปลา,ขายกระเพาะปลาเก่า,รับซื้อกระเพาะปลา,กระเพาะปลาเก่า
ซื้อกระเพาะปลา,ขายกระเพาะปลาเก่า,รับซื้อกระเพาะปลา,กระเพาะปลาเก่า

กระเพาะปลา มีชื่อในภาษาจีนแต้จิ๋ว คือ “หื่อเผีย” แปลว่า ถุงลมซึ่งมีหน้าที่สำหรับควบคุมการลอยตัวของปลา พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นอวัยวะที่ช่วยปลา สำหรับการว่ายน้ำโดยปกติแล้ว เราจะเห็นได้ว่ากระเพาะปลา มักเป็นวัตถุดิบสำหรับประกอบเป็นอาหาร เช่น กระเพาะปลาน้ำแดง หรือกระเพาะปลาผัดแห้งแล้วคำถามที่ตามมาก็คือ ทำไมมันถึงแพง ?หากจะหาคำตอบ เราก็ต้องไปดูแหล่งที่มีการบริโภคกระเพาะปลามากสุดในโลก นั่นคือ ประเทศจีนสำหรับประเทศจีนนั้น กระเพาะปลาเป็นสิ่งที่ผู้คนบริโภคกันมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง หรือประมาณกว่า 1,000 ปีที่แล้วโดยในตำราจีนมีการบอกว่า กระเพาะปลามีสรรพคุณ เช่น บำรุงเลือด ตับ และไต เลือดลมไหลเวียนดี เพิ่มกำลังวังชา เพิ่มอายุวัฒนะ และอื่น ๆ อีกมากมายด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้กระเพาะปลาได้กลายมาเป็นหนึ่งในเครื่องบรรณาการจากหัวเมืองชายฝั่งทะเล ที่ถวายให้แก่ฮ่องเต้ และเป็นสิ่งที่ชาวบ้านทั่วไปนิยมรับประทาน ในช่วงโอกาสพิเศษ เช่น วันเกิด วันตรุษจีน หรืองานแต่งงานในเวลาต่อมา ก่อให้เกิดเป็นประเพณี คือ ครอบครัวคนจีนมักจะเก็บกระเพาะปลาไว้ให้ลูกสะใภ้ หรือลูกสาวของตนรับประทานในช่วงเวลาตั้งครรภ์ เพื่อให้สุขภาพดี และช่วยบำรุงผิวพรรณเด็กในท้องด้วยโดยจะให้แม่รับประทานหลังคลอดลูก เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงจะได้มีน้ำนมเยอะ ๆ ให้ลูกได้ดื่มกินจากเรื่องราวนี้ ทำให้ชาวจีนยกย่องกระเพาะปลาให้เป็น “โสมทะเล” และเป็น 1 ใน 4 อาหารอันโอชะของท้องทะเล ร่วมกับหอยเป๋าฮื้อ ปลิงทะเล และครีบฉลามพอเรื่องเป็นแบบนี้ ครอบครัวชาวจีนจึงเริ่มเก็บสะสมกระเพาะปลากันมากขึ้น ถึงขั้นเก็บกันเป็นสินทรัพย์ เป็นมรดก รวมถึงมีผู้ประกอบการบางรายก็ซื้อเก็บด้วยเช่นกัน อย่างที่เราเห็นได้ตามร้านรับซื้อกระเพาะปลาย่านเยาวราชแล้วทีนี้ หลายคนก็น่าจะสงสัยแล้วว่าทำไมกระเพาะปลาที่เรารับประทานกัน บางชิ้นก็มีราคาถูก แต่ทำไมบางชิ้นก็มีราคาแพงคำตอบมีหลายเหตุผลเหตุผลแรกคือ กระเพาะที่อยู่ในกระเพาะปลาน้ำแดงในบางร้านนั้น อาจไม่ได้ทำมาจากปลาแท้ ๆ แต่ทำมาจากกระเพาะปลาเทียม ที่ทำมาจากหนังหมู..สำหรับผู้ที่อยากรู้ว่าสิ่งที่เราทานเข้าไปเป็นปลาหรือหมู

ซื้อกระเพาะปลา,ขายกระเพาะปลาเก่า,รับซื้อกระเพาะปลา,กระเพาะปลาเก่า

เราก็สามารถสังเกตได้เอง โดยถ้าเป็นกระเพาะปลา จะมีลักษณะทรงโค้ง เรียบ และเนื้อแน่น
แต่หากเป็นหนังหมู จะมีรูปร่างที่แบน หยาบ และมีฟองอากาศกระจายทั่วผิวอีกส่วนหนึ่งที่แม้ว่าจะเป็นกระเพาะปลาแท้ ๆ แต่กลับมีราคาถูก เพราะว่ากระเพาะปลาที่นำมาใช้นั้นเป็นแบบทอด ที่เป็นการนำกระเพาะปลาตากแห้งมาทอดจนฟู จะมีอายุในการเก็บที่ไม่นานซึ่งต่างจากกระเพาะปลาที่มีราคาแพง ที่เป็นการเอาถุงลมปลาแบบสด มารีดน้ำออกจนหมด แล้วนำไปตากแดดให้แห้งสนิทเท่านั้น ซึ่งสามารถรักษาคุณภาพ และอายุของวัตถุดิบได้ดีกว่า รวมถึงมีรสชาติและเนื้อสัมผัสที่ดีกว่าอีกด้วยอย่างไรก็ตาม ต้องบอกว่าแม้จะเป็นกระเพาะปลาแบบสดเหมือนกัน
แต่ก็สามารถมีราคาที่แตกต่างได้เช่นกันแล้วอะไรคือตัวกำหนดว่า กระเพาะปลาแบบไหน ควรมีราคาแพงหรือถูกอย่างแรกเลยคือ “พันธุ์ปลา” ยิ่งถ้าสูญพันธ์ุไปแล้ว หรือหาจับได้ยาก ยิ่งมีราคาสูงปัจจุบันกระเพาะปลาที่ติดหนึ่งในอันดับที่มีราคาแพงสุด อยู่ที่ประมาณ 10 ล้านบาทต่อกิโลกรัมเป็นสายพันธุ์กิมจี้ ซึ่งเป็นชนิดปลาน้ำลึกที่หาได้ยาก และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศจีนแล้วต่อมาคือ “ลักษณะของกระเพาะปลา” ยิ่งมีขนาดใหญ่ยิ่งดี และต้องมีสภาพสมบูรณ์นอกจากนั้น “ความเก่า” ก็สำคัญ เพราะคนเชื่อว่ายิ่งกระเพาะปลามีอายุ จะยิ่งช่วยเพิ่มสรรพคุณเป็นยาบำรุงมากขึ้น ซึ่งความเก่านี้เอง จะสังเกตได้จากสีของกระเพาะปลา ยิ่งสีเหลืองเข้มแปลว่ายิ่งมีความเก่านอกจากนี้กระเพาะปลาที่ดีควรมีกลิ่นน้ำทะเลอ่อน ๆ แต่ไม่มีกลิ่นคาวแล้วรู้หรือไม่ว่า “เพศของปลา” ก็เป็นตัวกำหนดราคาเช่นกันหากกระเพาะปลาทั้งสองมีลักษณะที่ไม่แตกต่างกัน แต่มีเพศต่างกัน
โดยปกติแล้ว กระเพาะปลาเพศผู้ จะมีราคาที่สูงกว่าเพศเมีย
เนื่องจากกระเพาะปลาเพศผู้จะมีความหนา เนื้อแน่น และไม่ละลายในปาก
รวมถึงเชื่อว่า มีสรรพคุณที่มากกว่า ขณะที่กระเพาะปลาเพศเมีย มีความบางและอ่อนนุ่มมากกว่าปัจจัยสุดท้ายคือ “แหล่งที่มา” ถ้าหากจับปลาได้ที่ทะเลจีนตะวันออก หรือทะเลจีนใต้ จะถือว่ากระเพาะปลาที่ได้นั้นมีคุณภาพมาก เมื่อเทียบกับแหล่งอื่น ๆและทั้งหมดนี้ คือเรื่องราวของกระเพาะปลา ซึ่งเราก็พอสรุปได้ว่า ราคาของกระเพาะปลาที่สูงนั้นเกิดมาจากความเชื่อ เรื่องสรรพคุณการเป็นยาบำรุง และความต้องการที่ยังมีอยู่มาก ขณะที่จำนวนสินค้านั้นหาได้ยากขึ้นและถ้าหากถามว่า มูลค่ากระเพาะปลาหลักสิบล้านบาท เป็นเรื่องที่แปลกหรือไม่
เรื่องนี้ก็คงต้องตอบว่าขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน
เพราะของสะสมอื่น ๆ เช่น ของเล่น เหรียญเก่า นาฬิกา งานศิลป์ หรือแม้แต่เหรียญคริปโทเคอร์เรนซี ก็สามารถมีมูลค่าที่สูงได้ อยู่ที่ว่าคนในกลุ่มนั้นพึงพอใจกับสิ่งที่จ่ายหรือเปล่า ก็เท่านั้นเอง..

ถมนคร แพร่หลายเข้ามากรุงเทพฯ

เครื่องถม ในกรุงเทพฯ

ในกรุงเทพมหานครมีการทำถมกันมากพอสมควร ราวๆ สมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งเรียกชื่อว่า “บ้าน พานถม” อยู่ใกล้ๆ สะพานเฉลิมวันชาติ ถนนพระสุเมรุ ชาวบ้านในกลุ่มนี้ทำพานถม ขันถมขาย แต่ไม่มีหลักฐาน ว่าทำกันมาตั้งแต่เมื่อไร มีแต่ผู้สูงอายุคนหนึ่งเล่าว่า ชาวบ้านใน “บ้านพานถม” นี้ ได้ประกอบอาชีพทำพานถม ขันถม เป็นแบบเครื่องถมนคร แต่ฝีมือไม่อยู่ในขั้นดีเยี่ยม เช่น น้ำยาถมเป็นสีดำ เหมือนสีถ่านแต่ไม่ขึ้นมันเงา การทำถมก็ไม่เรียบสนิท มักจะเป็น “รูพรุน” หรือ “ตา มด” ปัจจุบันนี้เลิกอาชีพนี้ไปหมดแล้ว

ใน พ.ศ.๒๔๕๓ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ได้ฟื้นฟูส่งเสริมศิลปหัตถกรรมเครื่องถมนครศรีธรรมราชขึ้น ในกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๔๕๖ ได้เปิดแผนกช่างถมขึ้นเป็นกอง และแผนกหนึ่งใน “โรงเรียน เพาะช่าง” ได้รับความร่วมมือจากพระยาเพชรปราณี เจ้ากรมอำเภอ กระทรวงนครบาล ในขณะนั้น จัดหาตำรา “ถม นคร” มาใช้สอนในโรงเรียนเพาะช่างในแผนกช่างถมสำเร็จ ทำการทดลองใช้ตำราเล่ม นั้น โดยเริ่มให้ศาสตราจารย์หลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ ปัทมจินดา) เป็นผู้รับหน้าที่ทดลองใช้ และเรียกขุนปราณีถมกิจ (หยุย จิตตะกิตติ) เป็นช่างถมอยู่บ้านพานถม ให้เข้ามารับราชการเป็นผู้สอนร่วมกับ ขุนประดิษฐ์ถมการ (รื่น ทัพวัฒน์) วิชาเครื่องถมนี้ได้รับการส่งเสริม โดยให้มีการเรียนการสอนในโรงเรียนเพาะช่างสืบต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

วิชาช่างถมโรงเรียนเพาะช่าง

วิชาช่างถมที่เปิดสอนในโรงเรียนเพาะช่างเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ (ตำรา “ถม นคร”) เรียกว่า วิชารูปพรรณและถม ได้แก่ การขึ้นรูป สลักลาย และลงถม

ดำรง โมลีกุล เขียนอธิบายเกี่ยวกับวิชาช่างถมในโรงเรียนเพาะช่างไว้ในเรื่อง “การ ทำบล็อกแม่พิมพ์” ดังนี้

ปี พ.ศ.๒๔๖๑ – ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ในขณะที่เป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ มาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่าง พระองค์ได้ทรงตั้งแผนกช่างทองแผนกเจีย ระไนเพชรพลอย (แผนกโลหะรูปพรรณ) และได้นำวิธีการทำบล็อกโลหะ (ดูรายละเอียดในเรื่อง “การ ทำบล็อกแม่พิมพ์”) เข้ามาทำ เครื่องถมที่ต่างกับ เครื่องถมนครศรีธรรมราช คือ “ถม นคร” ใช้กรรมวิธีขึ้นรูป และสลักดุน ส่วนใดที่ต้องการลวดลายก็ดุนขึ้นมา การทำต้องใช้เวลานานมากในการขึ้นรูป สลักดุน

เมื่อเป็นเช่นนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ได้ทรงคิดค้นวิธีที่จะทำถมให้เร็วขึ้น ด้วยการนำวิธีการทำบล็อกมาช่วย โดยใช้เขียนต้นฉบับเป็นลวดลายต่างๆ และนำมาถ่ายเป็นกระจกเปียก (WET COLODION) (สมัยก่อนยังไม่ใช้ฟิล์ม) เป็นภาพ เพื่อใช้อัดลงแผ่นเงินที่ปรับแผ่นให้เรียบด้วยวิธีการรีดโลหะ นำแผ่นเงินมาเคลือบน้ำยาไวแสงเพื่อใช้อัดภาพลงไป และทำตามกรรมวิธีทำบล็อก โลหะ โดยนำแผ่นเงินไปกัดกรด ส่วนที่ถูกกรดกัดลึกก็จะนำยาถมมาลง ส่วนที่ไม่ถูกกรดกัดก็เป็นเนื้อเงิน การทำถมแบบนี้ทำได้รวดเร็วและสวยงามไป อีกแบบ แต่ต้องแกะ และประดิษฐ์ลวดลาย เพื่อเพิ่มความสวยงามใช้การตัดติดต่อแผ่น โดยใช้วิธีทำแพทเทิร์น “PATTERN” ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ เช่น กล่องถม รูปแบบกล่องที่มีฝาปิดเปิดได้ หรือเป็นกล่องเครื่องใช้

แต่ถ้าเป็นเครื่องเงินที่ขึ้นรูปของที่มีความโค้ง เช่น ขัน ตลับ แจกัน เป็นต้น ใช้วิธีการเขียน กัดกรด โดยนำของขึ้นรูปมาเขียนด้วย กาวกระถิน (GUMARABIC) ผสมสีย้อมผ้า (สีม่วง) แล้วใช้ หมึกพิมพ์คลึง และนำไปกัดกรดเช่นเดียวกัน เรียกว่า “ถม จุฑาธุช” (จากเรื่อง “การ ทำบล็อกแม่พิมพ์” หน้า ๓๑๙-๓๒๐ “ในหนังสือ ๑๐๐ ปี สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุช)

โรงเรียนช่างถมนครศรีธรรมราช

ผู้ให้กำเนิดโรงเรียนช่างถมนี้คือ พระภิกษุชาวนครศรีธรรมราชรูปหนึ่ง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ครั้งสุดท้ายเป็น พระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๓๙๖ – ๒๔๗๗ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็น พระสิริธรรมมุนี สถิต ณ วัดท่าโพธิ์ ชาวนครฯ เรียกท่านว่า “เจ้าคุณวัดท่าโพธิ์” ทางด้านศาสนาท่านเป็นเจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช แต่อีกทางหนึ่งท่านเป็นผู้จัดการการศึกษาของกุลบุตรกุลธิดาชาวมณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑล ปัตตานี ซึ่งเกือบจะเรียกได้ว่าของชาวปักษ์ใต้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริ ให้จัดการศึกษาขึ้นในประเทศไทย ในปี พ.ศ.๒๔๒๑ เป็นครั้งแรกนั้น ได้ทรงแต่งตั้งให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่น วชิรญาณวโรรส เป็นองค์ประธานอำนวยการศึกษาและพระศาสนา ในหัวเมืองมณฑลกรุงเทพฯ และในมณฑลหัวเมืองตลอดพระราชอาณาจักร กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเลือกพระรัตนธัชมุนี เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นที่พระสิริธรรมมุนี ขึ้น ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานตราตำแหน่ง ตั้งท่านเจ้าคุณเป็นผู้อำนวยการศึกษาและการพระศาสนามณฑลนครศรีธรรมราชกับมณฑลปัตตานี การจัดการศึกษาครั้งนี้ มิใช่เป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายๆ ด้วยเหตุประการแรกคือ การคมนาคมไปมาไม่สะดวกอย่างยิ่ง ประการที่สอง เป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงจิตใจของคน เปลี่ยนแปลงแบบแผนขนบธรรมเนียมประเพณีเดิม และต้องฝ่าอำนาจบุคคลหมู่มากที่มีอยู่ด้วยประการต่างๆ ร้อยแปดพัน ประการ เฉพาะอย่างยิ่งในมณฑลปัตตานี ซึ่งพลเมืองส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามมีลัทธิประเพณีต่างกับชาวพุทธ การจัดการศึกษาย่อมยากยิ่งขึ้นเป็นอันมาก แต่ท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนีได้ดำเนินการนั้นด้วยสติปัญญาอันสุขุม เป็น ผลลุล่วงได้ด้วยความราบรื่นสมพระประสงค์ทุกประการ ท่านเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาให้แก่ชาวปักษ์ใต้แก่ชาวนครศรีธรรมราช มิใช่แต่วิชาสามัญเท่านั้น (วิชาวิสามัญคือวิชาชีพ) กล่าวโดยเฉพาะ ท่านได้จัดตั้งโรงเรียนสอนวิชา ช่างถมขึ้นในวัดท่าโพธิ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๖

หลังจากการทำเครื่องถมนครได้ซบเซาตกต่ำลงไปมากท่านเจ้าคุณได้สละเงินนิตยภัตที่ท่านได้รับพระราชทานจ่ายเป็นเงินเดือนแก่ครูผู้สอนกิจการ กิจการของโรงเรียนนี้ได้ดำเนินมาหลายปี จนในที่ สุดกระทรวงศึกษาธิการได้เห็นความสำคัญของศิลปหัตถกรรมประเภทนี้ขึ้นมา และได้รับเอาโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนของรัฐ ในปัจจุบันนี้ โรงเรียนนี้ได้เจริญเติบโตเป็นโรงเรียนช่างโลหะรูปพรรณ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช และต่อมา ได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษานครศรีธรรมราชเป็นสถานศึกษาของชาติไทยแห่งเดียวเท่านั้นที่สอนวิชาช่างถม ทำเครื่องถมศิลปหัตถกรรมประจำชาติของไทย และนักศึกษาที่จบจากโรงเรียนนี้ จะเป็นผู้ดำรงไว้ซึ่ง ศิลปหัตถกรรมอันนี้ของชาติ เป็นผู้สร้างเกียรติและศักดิ์ศรีแก่ชาวนครศรีธรรมราชสืบไปชั่วกาลนาน

เครื่องถมเมืองนคร

เครื่องถมนคร มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาตั้งแต่อดีตและนับเป็นหนึ่งในบรรดาศิลปาชีพชั้นสูง ผลิตภัณฑ์เครื่องถมนครได้รับความนิยมจนปัจจุบันเนื่องจากยังรักษาคุณภาพไว้ได้ ลักษณะงานถมนคร จะมีสีดำเงางาม ลวดลายเกิดจากการสลักด้วยมือล้วนๆ ไม่ว่าจะเป็นการเคาะ หรือแผ่รีด ทำให้ลวดลายมีความละเอียด ถ้าสังเกตจากด้านใน จะมีรอยสลักนูนขึ้นมา แต่ถ้าเป็นเครื่องถมที่ทำด้วยการกัดกรด ไม่ใช้การสลัก ด้านในจะไม่มีรอยสลัก จะเห็นว่าการทำของนครฯ ทำด้วยมือ มีรอยสลักด้วยมือจริงๆ แต่ปัจจุบันอาจมีเครื่องจักรมาใช้บางขั้นตอน อาทิ แหวนนะโม ใช้วิธีการหล่อขึ้นรูป จุดเด่นอีกประการที่เห็นชัดของเครื่องถมนครนั้นอยู่ที่ตัวยาถมซึ่งมีสีดำ ขึ้นเงา แวววาว จนเรียกติดปากว่า “ถมนคร” ทั้งนี้การพัฒนาฝีมือของช่างในอดีตเกิดจากการแข่งขันกันของช่างฝีมือภายในนครศรีธรรมราช จนพัฒนาลักษณะของเครื่องถม ให้มีลวดลายวิจิตรสวยงาม เครื่องถมนครได้ประดิษฐ์ขึ้นเป็นของใช้รูปพรรณต่างๆ เช่น แหวน กำไล ล็อกเกต มีด เครื่องเชี่ยน ขันพานรอง หีบลงยาตลับยานัตถุ์ ซองบุหรี่ ดาบฝักทอง เป็นต้น
          โดยเครื่องถมนครมีกำเนิดตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ราว พ.ศ.2061 แต่เรื่องที่มายังเห็นขัดแย้งกันอยู่ บ้างว่าได้รับการถ่ายทอดมาจากชาวโปรตุเกส เพราะชาวโปรตุเกสเป็นชาติแรกที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำการค้าขายในราชอาณาจักรไทยได้ 4 เมือง คือ กรุงศรีอยุธยา นครศรีธรรมราช ปัตตานี และมะริด สมเด็จฯกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงมีความเห็นว่า ชาวนครศรีธรรมราชได้รับรู้เรื่องเครื่องถมจากชาวอินเดีย ศาสตราจารย์วิศาลศิลปกรรมให้ความเห็นว่า ยาถมไทยมิได้รับต้นตำรับมาจากประเทศใด เกิดขึ้นในประเทศไทยโดยแท้ คือเกิดที่นครศรีธรรมราช
และบ้างว่ารับมาจากอิหร่านบ้าง จากกรีซบ้าง จึงยังหาข้อยุติไม่ได้ ผลิตภัณฑ์เครื่องถมนครนอกจากใช้ทั่วไปในหมู่ชาวเมืองแล้วยังเป็นของที่ระลึก เป็นของทูลเกล้าถวายเป็นจำนวนมาก เช่น ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงรับสั่งให้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยนั้น จัดหาช่างถมที่มีฝีมือเยี่ยมที่สุดของนครศรีธรรมราชส่งไปยังกรุงศรีอยุธยาทำไม้กางเขนถมส่งไปถวายพระสันตปาปา ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี และทำเครื่องถมเป็นเครื่องใช้ไปบรรณาการพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศส
          ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เครื่องถมก็ยังถือเป็นของสูงศักดิ์ ที่ใช้เป็นเครื่องราชูปโภค และเครื่องราชบรรณาการ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เครื่องถมเมืองนคร ได้รับความนิยมอย่างสูง ในราชสำนัก และเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชเอง คือ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ก็เป็นผู้ส่งเสริม และทำนุบำรุงช่างถมให้เจริญก้าวหน้า อีกทั้งตัวท่านเองเป็นผู้มีฝีมืออันเลิศ จนถมเมืองนคร เข้ามามีชื่อเสียงในพระนครเป็นอย่างมาก เช่น ในสมัยพระบาทสมเด็จฯพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยานคร(กลาง) ได้ทำพระเก้าอี้ถมอนุโลมจากพระแท่นและพนักเรือพระที่นั่งด้วยถมอนุโลมจากพระเสลี่ยงถวายและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งเครื่องถมเมืองนครจำนวนหนึ่งร่วมไปกับเครื่องบรรณาการส่งไปถวายแด่พระนางเจ้าวิคตอเรียแหล่งประเทศอังกฤษ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังบัคกิ้งแฮม นอกจากนี้โปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระเก้าอี้ถมเป็นพระที่นั่งภัทรปิฐในงานบรมราชาภิเษก ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จฯพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทโปรดเกล้าฯให้พระยาสุธรรมมนตรี(หนูพร้อม) ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นพระยานครศรีธรรมราชเป็นนายงานให้ช่างถมที่เมืองนครศรีธรรมราชทำพระที่นั่งพุดตานถม ซึ่งตั้งไว้ในท้องพระโรงกลางทรงอ้างว่าตามเยี่ยงอย่างพระบิดาและพระอัยกา พระยานครจะขอทำให้เป็นของถวายแต่ไม่ทรงอนุญาต พระองค์จึงได้ทรงออกเงินให้เอง ในรัชกาลปัจจุบันพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ช่างทำหีบบุหรี่ถมทองสำหรับพระราชทานแก่ประธานาธิบดีไอเวนเฮาว์และ ดร.ริสบอร์ผู้ซึ่งเป็นนายแพทย์ที่ถวายการประสูติ และได้พระราชทานตลับแป้งถมทองแก่นางพยาบาลที่โรงพยาบาลในเมืองบอสตันด้วยทุกคน
          ปัจจุบันเนื่องจากทองและเงินมีราคาสูงขึ้น ประกอบกับการทำต้องอาศัยเวลาและฝีมือชั้นสูง เครื่องถมนครไม่ค่อยพัฒนารูปแบบและลวดลาย นิยมทำแบบดั้งเดิม มีตั้งแต่ ภาชนะ เครื่องประดับชิ้นเล็ก เช่น ช้อน แหวน กำไล เข็มกลัดติดเสื้อไปจนถึงชิ้นใหญ่ เช่น พานขันโตก ถาด เมื่อเทียบกับเครื่องถมที่ผลิตจากกรุงเทพฯ ทำกระเป๋าถือผู้หญิง รูปทรงต่างๆ ไปออกแบบร่วมกับวัสดุอย่างอื่นบ้าง เช่น กระเป๋าย่านลิเภาบ้าง หรือตกแต่งกับวัสดุอย่างอื่นก็ได้ หวายก็ได้ มีการพัฒนา มีการประกวดแข่งขันกันก็เป็นที่น่าภาคภูมิใจเกิดการพัฒนารูปแบบ แต่เครื่องถมนครคงเอกลักษณ์ของตนเองไว้อย่างดีเยี่ยม

ลายของเครื่องถม

ลายเครื่องถมเป็นรูปแบบทางทัศนศิลป์ประเภทหนึ่ง ประกอบด้วยเส้นเป็นสำคัญต่อเนื่องกันไป มีทั้งลายแบบธรรมชาติ และลายแบบประดิษฐ์ โดยลายเครื่องถมมี 9 แบบ คือ
          1.ลายกนกเปลว มีลักษณะลวดลาย เลียนแบบธรรมชาติจากเปลวไฟ
          2.ลายใบเทศ มีลักษณะเป็นช่อ มีก้าน กาบ ดอก ใบ สามารถนำมาต่อลายอื่นได้
          3.ลายประจำยาม มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า ภายในแบ่งเป็นดอกสี่กลีบ มีเกสรอยู่ตรงกลาง
          4.ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ มีลักษณะเป็นทรงพุ่มคล้ายหยดน้ำ
          5.ลายกระจังมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ใช้ตามขอบริมฐานของชิ้นงาน
          6.ลายก้านขด เป็นการนำลายต่างๆ มาเขียนลายต่อเนื่องกันเป็นเถา
          7.ลายบัวคว่ำบัวหงาย มีลักษณะเป็นรูปกลีบบัว นิยมใช้ประกอบฐานของรูปพรรณ
          8.ลายเม็ดบัว มีลักษณะหลายแบบ ได้แก่ กลม รี มักใช้ต่อเนื่องเป็นเส้น
          9.ภาพประกอบลาย มีลักษณะเป็นภาพแบบต่างๆ นำมาใช้ประกอบลาย
           โดยการวางลาย รูปแบบของลาย การนำลายมาประกอบขนาดและจำนวนลายให้ได้รูปแบบสวยงามเหมาะกับรูปทรงภาชนะ ซึ่งลายมีความเกี่ยวข้องกับ ประเภทของภาชนะ เช่น ลายใบเทศ ลายกระจังตาอ้อย และลายบัวคว่ำ ปรากฏในของใช้ในครัวเรือนมากกว่าภาชนะประเภทอื่น ลายกนกเปลวพบมากในเครื่องประดับ และลายเครือเถาพบมากในของใช้ทั่วไป ลายกับรูปแบบของเครื่องถมเป็นศิลปะประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกันมาแต่อดีตเครื่องถมทุกชิ้นจะมีลายเป็นสิ่งตกแต่ง อาทิ ลายกนกเปลว ตกแต่งบนขัน เชี่ยนหมาก ถาดผลไม้ ชุดชา กาแฟ ลายใบเทศ ตกแต่งบนขัน ซองบุหรี่ กล่องเครื่องประดับ ลายประจำยาม ตกแต่งบน พานรอง ถาด กระเป๋า ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ตกแต่งบนตลับแป้ง กระเป๋า ลายกระจัง ตกแต่งบนพานรอง ขันน้ำ ฝาครอบแก้ว ลายก้านขด ตกแต่งบนกำไล กิ๊ฟ กระเป๋า เข็มหนีบเนคไท ลายบัวคว่ำบัวหงายตกแต่งบน พานรอง โถกรวดน้ำ ถาด ขันน้ำ ลายเม็ดบัวตกแต่งบนตลับแป้ง ขันน้ำ ฝาครอบแก้ว เข็มกลัด และภาพประกอบลาย ตกแต่งบนขัน ถาด กระเป๋า เข็มกลัด ที่เขี่ยบุหรี่

ประเภทของเครื่องถมไทย

เครื่องถมเป็นศิลปหัตถกรรมประเภทประณีตศิลป์ เครื่องถมมีอยู่ ๓ แบบ คือ ถมเงิน (หรือถมดำ) ถมทอง และถมตะทอง

ถมเงินหรือถมดำ

ถมเงินที่ดี จะต้องไม่มีตามด ลายเด่นชัด

ถมดำเป็นถมที่เก่าแก่ที่สุดตามความนิยม ถมที่ดีต้องมีสีดำสนิท ไม่มี “ตามด” (ตามดคือ จุดขาวบนสีดำ) ถมเป็นกรรมวิธีในการผสมของโลหะสามอย่างเข้าด้วยกัน คือ เงิน ตะกั่ว และทองแดง นำมาป่น จนเป็นผงละเอียด เพื่อโรยลงบนพื้นแผ่นเงิน ที่ขูดร่องหรือตอกเป็นลวดลายไว้แล้ว การที่จะให้ผงถมเกาะแน่นอยู่ที่การเหยียบพื้น (คือ การแกะหรือตอกร่องลงบนเนื้อเงินที่เป็นพื้นของลายที่ตอก) ถ้าเหยียบพื้นให้มีรอยขรุขระมากเท่าใด ผงถมก็เกาะได้มากเท่านั้น การถมพื้นนั้น เริ่มด้วยการโปรยผงถม ลงในช่องพื้นที่สลักหรือตอกลายเหยียบพื้น เมื่อเต็มพื้นแล้ว นำไปอบ จนผงถมละลายทั่วหุ่น หลังจากนั้นจึงขัดให้เนื้อสม่ำเสมอกัน จนเห็นลายเด่นชัดบนพื้นสีดำ ต้องอาศัยความชำนาญในการเขียน และการแลลาย การแลลาย หมายถึง การ ต้องแลเป็นเส้นเล็กๆ ตามลวดลายที่สลักดุน เพื่อให้เกิดความวาว ดูแล้วเหมือนเคลื่อนไหวได้ ถมเมืองนครผลิตและสลักด้วยมือ นครศรีธรรมราชยังได้ชื่อว่า มีฝีมือในการทำถมดำ

ถมทอง

ภาชนะถมตะทอง

ถมทองก็คือ ถมดำนั่นเอง แต่แตกต่าง ที่ลวดลาย คือ ลายสีเงินได้เปลี่ยนเป็นสีทอง ช่างถมจะเปียกหรือละลายทองคำให้เหลวเป็นน้ำ โดยใส่ทองแท่งลงในปรอท ปรอทจะละลายทองแท่งให้เป็นน้ำ ช่างถมจะชุบน้ำทองผสมปรอทด้วยพู่กัน เขียนทับลงบนลวดลายสีเงิน

การเขียนน้ำทองละลายปรอทนี้ จะต้องใช้ความประณีตเป็นอย่างมาก ต้องเขียนทับลงบนเส้นเงินเท่านั้น เมื่อเขียนเสร็จแล้ว จะใช้ความร้อนไล่ปรอทออกจากทอง ทองก็จะติดแน่นอยู่ บนพื้นที่เขียนน้ำทองนั้น ถมทองมีความงามตรง ที่เป็นสีทอง ลวดลายกระจ่างเด่นชัด ทองที่ทาทับ ก็จะมีความคงทนนับร้อยปี

ถมตะทอง

ถมตะทอง เป็นศัพท์ของช่างถม หมายถึง วิธีการระบายทองคำ ละลายปรอท หรือแต้มทองเป็นแห่งๆ เฉพาะที่ มิใช่ระบาย จนเต็มเนื้อที่อย่างเดียวกับการทำถมทอง โดยเอาทองคำแท้ๆ ใส่ลงในปรอท ทองละลายอยู่ในน้ำปรอท เมื่อเอาน้ำปรอท ที่มีทองคำละลายปนอยู่ ไปแต้มตามแห่งที่ต้องการให้เป็นสีทองนั้น ในขั้นแรกปรอท จะยังคงอยู่ เมื่อไล่ด้วยความร้อนปรอทจะหนี ทองก็จะติดแน่นอยู่บนตำแหน่งหรือลายที่แต้ม ทองนั้น การแต้มทองหรือระบายทองในที่บาง แห่งของถมดำ เป็นการเน้นจุดเด่น หรือต้องการ แสดงอวดภาพหรือลายเด่นๆ ฉะนั้นเครื่องถม ตะทองจึงเป็นของที่หายากกว่าถมเงินหรือถมทอง ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีความนิยมในถมตะทอง มากกว่าถมทอง

ถมปัด

มีเครื่องใช้สอยอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า “ถมปัด” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ ให้คำนิยามไว้ว่า “ภาชนะทองแดงที่เคลือบน้ำยา ประสมด้วยลูกปัดป่นให้เป็นผง ให้เป็นสีและลวดลายต่างๆ” ส่วนคำว่า “ปัด” ที่เป็นนาม ให้คำนิยามว่า “เม็ดแก้วมีรูกลาง สำหรับร้อยเป็นเครื่องประดับต่างๆ ที่เรียกว่า ลูกปัด” ดังนั้น แม้จะมีคำว่า ถม อยู่ด้วย ถมปัดก็ไม่ใช่เครื่องถม ดังที่กล่าวถึงมาแล้วข้างต้นนี้ เพราะเหตุว่า รูปพรรณถมปัดเป็นโลหะทองแดง และน้ำยา เคลือบประสมด้วยแก้ว ถมปัดนี้ยังไม่ทราบ ว่าเคยมี ณ ที่ใด ในประเทศไทยเครื่องลงยา ของไทยใช้น้ำยาผสมด้วยแก้ว แต่โลหะก็เป็นเงิน หรือทองคำ และหาได้เรียกกันว่า ถมปัด ไม่ ในประเทศญี่ปุ่น มีเครื่องใช้สอยชนิดหนึ่งเรียกเป็น ภาษาญี่ปุ่น ชิปโป (Shippo) ทำด้วยทองแดง หรือโลหะอื่นเคลือบน้ำยาประสมด้วยแก้ว ทาง ยุโรปก็มีเรียกว่าคลัวซอนเน (Cloisonne) ทั้งนี้ก็ ตรงกันกับถมปัด เข้าใจว่าโลหะลงยาชนิดนี้ใน ประเทศไทยคงมีขึ้นหลังเครื่องถม เมื่อเห็นลงยามี วิธีการทำคล้ายถม ก็เลยใช้คำว่าถม และเพราะ เหตุที่เคลือบด้วยแก้วสีไม่ดำ จึงเอาคำว่า “ปัด” ซึ่งหมายถึง เม็ดแก้วสีต่างๆ ประกอบเข้าไปไว้ด้วย ให้เป็นที่เข้าใจว่า เป็นชนิดที่ทำวิธีถมด้วยแก้วสี